ยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคแห่ง “การเปลี่ยนแปลง” อย่างแท้จริง โดยปัจจัยหลักที่สร้าง “แรงกระเพื่อม” ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่อย่างรุนแรงคงหนีไม่พ้นการระบาดของโควิด 19 ซึ่งได้ก่อให้เกิดบาดแผลในภาคเศรษฐกิจของนานาประเทศ จนองค์กรธุรกิจจำนวนมากต่างต้องลุกขึ้นมาปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงานให้แตกต่างจากเดิมเพื่อให้สามารถคงอยู่รอดต่อไปได้

        โดยการจะเอาชนะภัยร้ายที่อยู่กับโลกของเรามาถึง 3 ปีได้นั้น เหล่าผู้ประกอบการต้องสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในยุคโลกาภิวัตน์คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์คิดค้นนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาทำให้การดำเนินงานรูปแบบเดิม ๆ ง่ายขึ้น และตอบโจทย์ผู้บริโภคยิ่งขึ้น

        ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ในแวดวงของการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างอุตสาหกรรมไมซ์นั้น การมีรูปแบบการดำเนินงานที่โดดเด่น แปลกใหม่ และแตกต่าง เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นปัจจัยตั้งต้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถฝ่าทุกสภาวการณ์ร้ายแรงไปได้ ทั้งยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่จับตามองจากทั่วทุกมุมโลก

        อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งสิ่งที่ถือเป็นข้อเท็จจริงของการดำเนินธุรกิจคือการให้ความสำคัญกับแค่เรื่องของ “ไอเดีย” หรือความคิดที่เลิศล้ำอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการที่อุตสาหกรรมจะ “เติบโต” และก้าวล้ำทันโลก เพราะยังมีปัจจัยอีกมากมายหลากหลายมิติที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การจะทำให้ความคิดที่เฉียบคมสามารถเกิดขึ้นได้จริงนั้น การมี “นวัตกรรมและเทคโนโลยี” ที่เหมาะสมนับเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน

        ดังนั้น เมื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้สามารถพิชิตความวุ่นวายของยุค New Normal การที่ผู้ประกอบการทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมการจัดประชุม และนิทรรศการหรือไมซ์ มีความเข้าใจนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นหนทางที่จะช่วยให้บรรดาผู้ประกอบการสามารถดึงศักยภาพของตนออกมาได้อย่างเต็มที่พร้อมทั้งใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมได้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น

        สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB ผู้ก่อตั้งโครงการ MICE Winnovation เข้าใจเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้วางแผนการสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์แบบครบวงจรผ่านในการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ เพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไมซ์เป็นไปอย่างครอบคลุมที่สุด TCEB จึงได้ออกแบบโครงการ MICE Winnovation ให้ประกอบไปด้วยการสนับสนุนนวัตกรรมไมซ์ทั้งสิ้น 10 ด้าน ได้แก่

1. ระบบการเก็บข้อมูลแบบครบวงจร : Registration Service & Survey / Data Collection
        ในยุคปัจจุบัน “ข้อมูล” ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ และทำกำไรให้แก่องค์กรได้นับมูลค่าไม่ถ้วน ดังนั้นหากผู้ประกอบการไมซ์มีระบบการดูแลข้อมูลของผู้เข้าร่วมงานอย่างครบวงจร ก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการจัดงานในตรงจุด และตรงใจกลุ่มเป้าหมายในครั้งถัด ๆ ไปได้เสมอ



2. นวัตกรรมบริหารการจัดอีเว้นท์แบบเสมือน : Virtual / Hybrid Event Management
        ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจัดงานในรูปแบบ Virtual ได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์โดยมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นปัจจัยเกื้อหนุน สืบเนื่องจากการที่การจัดงานอีเว้นท์ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก (Mass Participation) ไม่ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมงานที่เปลี่ยนแปลงไปอีกต่อไปแล้ว



3. นวัตกรรมการจัดการพลังงานเพื่อความยั่งยืน : Energy Management / Sustainability Management
        พลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า คือหัวใจสำคัญที่คอยขับเคลื่อนการจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ให้สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งยังช่วยส่งมอบความสะดวกสบายแบบครบถ้วนให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ดังนั้นหากการบริหารจัดการพลังงานข้างต้นประสบปัญหาขาดแคลนพลังงาน การจัดประชุม และนิทรรศการจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้
        อย่างไรก็ดี การใช้พลังงานที่มากเกินจำเป็นสามารถสร้างผลเสียให้กับโลกได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อสร้างประสิทธิภาพการจัดงานอย่างยั่งยืน การบริหารพลังงานให้พอเหมาะ พอควรจึงเป็นนวัตกรรมที่ไม่สามารถมองข้ามได้ด้วยประการทั้งปวง

4. นวัตกรรมดูแลการเดินทาง และการขนส่งแบบครบวงจร : Logistic / Transportation / Travel Tech
        สิ่งที่ไม่สามารถขาดได้ในการจัดการ จัดประชุมระดับนานาชาติ และนิทรรศการขนาดใหญ่ คือแขกผู้เข้าร่วมงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย รวมไปถึงสิ่งของสำหรับการตกแต่ง และสินค้าที่จะจัดจำหน่ายภายในงานอีกด้วย ซึ่งทุกองค์ประกอบข้างต้นต่างต้องการพึ่งพาระบบการคมนาคม และการขนส่งทั้งสิ้น
        ทั้งนี้ หากการคมนาคม และการขนส่งถูกเพิ่มศักยภาพจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ผลที่ได้คือความสะดวกสบายที่มากขึ้นของทั้งผู้เข้าร่วมงาน และผู้จัดงาน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาลอีกด้วย



5. นวัตกรรมการบริหารจัดการหัวใจคน : Human Resource & Lifestyle
        มนุษย์ คือทรัพยากรที่ทำมูลค่าแก่ภาคธุรกิจได้สูงที่สุด ดังนั้นการดูแลมนุษย์ให้ลึกจนถึงหัวใจ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากผู้ประกอบการไมซ์ไม่สามารถบริหารจัดการทั้งบุคคลภายในองค์กร และบรรดาแขกผู้เข้าร่วมงาน โอกาสที่การจัดนิทรรศการจะประสบความสำเร็จจะน้อยลงตามเช่นเดียวกัน

6. เทคโนโลยีการโฆษณา และการสร้างการมีส่วนร่วม : Ad Tech & Customer Engagement
        การโฆษณา และการสร้างการมีส่วนร่วมถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้งานอีเว้นท์ประสบความสำเร็จ ซึ่งทาง MICE WINNOVATION ได้เตรียมการระบบหลังบ้านที่สามารถดูแลเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี การันตีผลการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน

7. เทคโนโลยีสำหรับโลกไร้พรหมแดน : AI / Robotics / IoT
        ขีดสุดของเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อนำนวัตกรรมดังกล่าวมาผสานเข้ากับการจัดการประชุม และนิทรรศการ จะสามารถตอบโจทย์เหล่าผู้เข้าร่วมงานที่มองหาการมีประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี



8. ระบบจับคู่ธุรกิจอัจฉริยะ : Crowd Management / Facial Recognition Software / Business Matching
        สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไมซ์ไทย ซึ่งทาง TCEB เล็งเห็นว่าการจับคู่ธุรกิจให้เหมาะสมจะทำให้การดำเนินงานออกมาอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ดังนั้นจึงได้วางระบบการส่งเสริมการจับคู่นวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการไมซ์และผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมที่ครอบคลุมธุรกิจอย่างกว้างขวาง และสามารถประเมินความเหมาะสมได้อย่างเที่ยงตรง

9. บำรุงรักษาความสุขสมบูรณ์ : Wellness Tech (Food & Health)
        คำว่า Wellness หรือ Well-being นั้นสื่อความหมายถึงความสุขสมบูรณ์ของคนในองค์รวม ทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม โดยในยุคปัจจุบันผู้คนได้ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวนี้อย่างมาก และเกิดเป็นกระแสรักสุภาพ ซึ่งถือเป็นพื้นที่เปี่ยมไปด้วยโอกาสอย่างแท้จริง

10. การสร้างผู้ให้บริการนิทรรศการเสมือนจริง : Virtual Exhibition Provider
        ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า การจัดงานในรูปแบบ Virtual ได้แทรกซึมเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์จนกลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมสูง ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการไมซ์สามารถขึ้นแท่นเป็นผู้ให้บริการนิทรรศการเสมือนจริงซึ่งเปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้ และวิธีการดำเนินงานที่ตอบโจทย์ จะทำให้วงการไมซ์ไทยสามารถก้าวขึ้นไปยืนบนเวทีโลกได้อย่างสง่าผ่าเผย

        ดังนั้นการทีดำเนินธุรกิจในยุคก่อน ๆ มักจะมุ่งเน้นไปยังการสร้างผลประกอบการจำนวนมหาศาลเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในยุคปัจจุบันยุคของการสร้างกำไรแต่เพียงอย่างเดียวได้หมดสิ้นไปแล้ว เพราะเหล่าผู้ประกอบการจะต้องสร้างมูลค่า และคุณค่า (Value Added and Value Creation) ของธุรกิจให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของผู้บริโภคเป้าหมายอีกด้วย